2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของหมู่บ้าน
(1) จุดอ่อน คือ
ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
• ด้านเศรษฐกิจ
-
ประชากรขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาอาชีพ
-
ประชากรในพื้นที่ว่างงาน,ตกงาน
-
ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นตกต่ำ
- ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ
- ไม่มีที่ดินทำกิน ที่ทำกินไม่เพียงพอ
• ด้านสังคม (เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม)
-
เด็กและเยาวชนในพื้นที่ติดยาเสพติด
-
ผู้สูงอายุขาดการดูแลอย่างเหมาะสม
-
ครอบครัวมีปัญหาแตกแยกทำให้เด็กขาดความอบอุ่น
- คนวัยทำงานต้องไปประกอบอาชีพ ทำให้ขาดผู้ดูแลผู้สูงอายุ
- ภาวะเศษรฐกิจตกต่ำทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
การใช้ดินและป่าอย่างไม่มีระบบและขาดการดูแลทำให้มีความเสื่อมโทรม
-
สภาพดินที่ทำกินเสื่อมโทรมและขาดธาตุในดินทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรไม่ดีเท่าที่ควร
- สภาพดินในพื้นที่ทำให้ต้องมีการบำรุงดิน
- ขาดการสร้างจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
• ด้านการเมืองและบริหารจัดการ
- การจัดการด้านต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า
- การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร
- ทำงานล่าช้า
และไม่รวดเร็ว
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-
การคมนาคมภายในหมู่บ้านที่ใช้ถนนสายที่เป็นทางลูกยาง ลักษณะดินส่วนใหญ่มีหินลูกรังผสมและดินร่วน
ปนทรายบ้างเล็กน้อย
• ด้านสาธารณสุข
-
ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจในการกำจัดขยะที่ถูกวิธี
-
ในช่วงฤดูฝนประชาชนในหมู่บ้านต้องพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการรับประทานยาก่อน-หลัง
(2) จุดแข็ง คือ
ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
• ด้านเศรษฐกิจ
- มีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ชุมชน
-
มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ
- ผู้คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีการประกอบอาชีพ
- สามารถผลิตได้ตามความต้องการของตลาด
และผู้บริโภค
- กลุ่มผู้ค้าขายมีความสามารถในการนำเสนอผลิตผลได้เอง
• ด้านสังคม (เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม)
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน
-
ประชาชนมีความรู้ด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของหมู่บ้าน
-
ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
- หมู่บ้านมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
-
สามารถสนองตอบความต้องการของสังคมได้
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
-
สภาพหมู่บ้านมีการพัฒนาให้สะอาดและน่าอยู่อย่างสม่ำเสมอ
- ประชาชนรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุมีผล
-
ประชาชนสามารถจัดการการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ได้เอง
• ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
- มีระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
-
การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน
- เป็นหมู่บ้านที่ปลอดความขัดแย้งทางการเมือง
- สามารถบริหารจัดการปัญหาของหมู่บ้านได้เอง
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน
โดยส่วนใหญ่มีความพร้อม
และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่ม
มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามมา
• ด้านสาธารณสุข
-
ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างในช่วงเย็นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลทำให้สุขภาพ
ร่างกายแข็งแรง
2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(1) โอกาส
(1.1)
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายในพื้นที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการ
ให้บริการสาธารณสุขทั่วถึงมากขึ้น
(1.2) มีสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่
ช่วยสร้างโอกาสให้เด็กเยาวชนให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่
ต้องเดินทางไปศึกษาต่างพื้นที่ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น
(1.3)
มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาลตำบล)
ในพื้นที่เป็นหน่วยงานราชการที่มีความใกล้ชิดกับ
ประชาชนมากที่สุดและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
(2)
อุปสรรค
(2.1) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพ
(2.2) ประชาชนขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ
2.3วิสัยทัศน์ (ทิศทางการพัฒนา)
หมู่บ้านน่าอยู่ อยู่อย่างพอเพียง
มีความสามัคคี หลักเลี่ยงอบายมุข
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างหมู่บ้านที่เข้มแข็ง มีความสามัคคี
เสียสละเพื่อส่วนรวม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
ส่งเสริมการศึกษาแก่บุตรหลานในหมู่บ้าน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3
สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.5 กลยุทธ์
กลยุทธ์
1
ส่งเสริมการปกครองท้องที่ควบคู่คุณธรรม
2. จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
สร้างความเข้าใจในหมู่บ้านเป็นประจำสม่ำเสมอ
3 เอาใจใส่ดูแลบุตรหลานด้านการศึกษา
4. สนับสนุนศิลปวัฒนธรรมในหมู่บ้าน
5. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน
(CIA)
หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม
CIA
มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน
เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ
กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่
การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว
ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำ SWOT เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น